ใบอนุญาตทำงาน

ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย

  • เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้

  • เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ รับส่ง เอกสาร

  • เจ้าหน้าที่แจ้งเตือนขั้นตอน / รอบรายงานต่างๆ

กระบวนการยื่นขอใบอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทย 

ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย

คนต่างชาติที่ต้องการจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องมีวีซ่าทำงาน (Non-B) โดยนายจ้างต้องจัดส่งสัญญาจ้าง พร้อมเอกสารธุรกิจของบริษัทนายจ้างให้แก่คนต่างชาติ เพื่อยื่นขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant Visa-B ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศที่คนต่างชาติอาศัยอยู่ เมื่อสถานทูตไทยอนุมัติวีซ่าพนักงานจึงสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยและยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ ตท.1

นายจ้างหรือสถานประกอบการอาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างชาติตามแบบคำขอ ตท.3 เพื่อให้คนต่างชาตินำไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศที่คนต่างชาติพำนักอยู่ให้พิจารณาออกวีซ่า Non-Immigrant Visa-B โดยเมื่อคนต่างชาติได้รับวีซ่าทำงานแล้วจะต้องเข้าประเทศไทยภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับจดหมายอนุมัติใบอนุญาตทำงาน เพื่อยื่นขอใบอนุญาตทำงานซึ่วต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกระทรวงแรงงานและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดไว้

ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รับวีซ่าประมาณ 30-60 วัน ขึ้นอยู่กับความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร

ขั้นตอนการพิจารณาใบอนุญาตทำงาน

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาใบอนุญาตทำงานตามเอกสารที่พนักงานยื่นขอ หากเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอายุของใบอนุญาตทำงานตามความเหมาะสมของโครงการ เช่น โครงการที่มีระยะเวลาสั้น หรือโครงการที่ต้องใช้พนักงานเฉพาะด้านและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ต่อการยื่นขอหนึ่งครั้ง

ระหว่างที่พนักงานพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย

ในระหว่างที่พนักงานชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย พนักงานชาวต่างชาติจำเป็นต้องยื่นแจ้งการพำนักทุก 90 วัน ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน

เมื่อหมดสัญญาจ้างงาน จบโครงการหรือลาออก

ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องดำเนินการแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงานที่กองการจัดหางานก่อน แล้วจึงไปดำเนินการแจ้งพ้นหน้าที่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ใบแจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตทำงานโดยนายจ้างหรือคนต่างด้าวเป็นผู้ลงนาม 2 ฉบับ พร้อมสำเนา และหนังสือสิ้นสุดการจ้างงาน 2 ฉบับ

หากนายจ้างดำเนินการขอยกเลิกใบอนุญาตทำงาน เอกสารประกอบการยื่นขอยกเลิกใบอนุญาตทำงาน ได้แก่

- ใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้ลงนาม 2 ฉบับ พร้อมสำเนา
- ใบอนุญาตทำงานฉบับจริง พร้อมสำเนา
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนสถานประกอบการ เช่น หนังสือรับรองนิติบุคคลบริษัท (ไม่เกิน 6 เดือน), ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน, หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ เป็นต้น
- สำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง

ทั้งนี้นายจ้างจะต้องดำเนินการแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างต่างชาตินั้นไม่ทำงานกับนายจ้าง หากส่งล่าช้ามีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท

  • Non-Immigrant Visa-B application (Working/business visa)
  • Work Permit application
  • Work Permit extension
  • Urgent Work Permit application (WP10)
  • 90-day reporting
  • Non-Immigrant Visa-O application
  • Visa extension
  • Re-entry (single)
  • Re-entry (multiple)
  • Visa & Work Permit cancellation
  • Visa transfer to new passport 
  • Dependent visa  
  • TR Visa extension

ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี

  •  

รายการเอกสารบริษัทเพื่อประกอบคำขออนุญาตทำงาน
(Work Permit)

เอกสารสำหรับคนต่างชาติเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน 

      1.  แบบรับคำขอ ตท. 1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป

      2.  หนังสือรับรองการจ้าง 

      3.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน  

      4.  ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามกฎหมาย

      5.  สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง 

      6.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าวติอากรแสตมป์ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้าคนต่างด้าวไม่มายื่นคำขอด้วยตนเอง) 

      7.  แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ 

      8.  หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้างติดอากรแสตมป์ และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ 

1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย 

2. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง 

3. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวพร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการ 

4.  สำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนต่างด้าว และหากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน 

5.  กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน, หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม, ใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ 

 

 

ตอบโจทย์ทุกธุรกิจเรื่องงานบุคคลด้วยความเชี่ยวชาญกว่า 35 ปี