สรุปเงื่อนไขมาตรการ “เยียวยา” ช่วง “ล็อคดาวน์” 9 กลุ่มอาชีพ เขตพื้นที่ 13 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม

มาตรการเยียวยาม33พื้นที่สีแดง

ประกาศและคำสั่ง ข้อกำหนดมาตรา 9 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 28) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิว พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ขยายพื้นที่ครอบคลุม 13 จังหวัด คือ กทม. ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีมาตรการเยียวยารองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการปิดกิจการ มีมาตรการเยียวยาล็อกดาวน์ ดังนี้

กิจการ 9 กลุ่มอาชีพ ที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา อนุมัติให้ได้รับการเยียวยาการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ประชาชนตามข้อกำหนดของ ศบค. ฉบับที่ 27 คือสำหรับช่วยเหลือแรงงานในระบบประกันสังคม และนอกระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ และมาตรการควบคุมการระบาด สรุปรวม 9 กลุ่มอาชีพคือ 

  1. ก่อสร้าง
    2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
    3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
    4. กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ
    5. ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์
    6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
    7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
    8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
    9. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

พื้นที่ได้รับการเยียวยา 13 จังหวัด สศช.เปิดเผยรายละเอียดการเยียวยาในระยะเร่งด่วน ที่ออกมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วง 1 เดือนโดยครอบคลุมพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดดังนี้

กรุงเทพมหานคร
ชลบุรี
พระนครศรีอยุธยา
ฉะเชิงเทรา
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
นราธิวาส
ปัตตานี
ยะลา
สงขลา

เงื่อนไขการเยียวยา "ในระบบประกันสังคม" และ "นอกระบบประกันสังคม"

  • ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท
  • นายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
  • สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
  • ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  • ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
  • ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  • ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)

ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา
33 https://www.sso.go.th/eform_news/
ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40
https://www.sso.go.th/eform_news/