Quiet Quitting เทรนด์ใหม่ของสถานที่ทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยง ภาวะหมดไฟ

Quiet-Quitting-เทรนด์ใหม่

เทรนด์ใหม่นี้ กลายมาเป็นกระแสที่ถัดมาจาก The Great Resignation หรือการลาออกระลอกใหญ่ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเมื่อมาถึงตอนนี้ เส้นแบ่งชีวิตกับการทำงานก็ดูเหมือนจะเบลอจนแยกจากกันไม่ได้ ขณะที่การลาออกก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเห็นด้วยกับ Quiet Quitting  

Quiet Quitting คืออะไร?
Quiet Quitting ไม่ได้หมายความว่าอยู่ ๆ พนักงานก็ลาออกไปเงียบ ๆ แบบไม่มีใครรู้ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการไม่ทำงานที่นอกเหนือไปจากงานที่ตัวเองเป็นผู้รับผิดชอบและมากขึ้น พนักงานยังคงทำงานได้เก่งเหมือนเดิม ยังคงทำหน้าที่ของตัวเองให้เสร็จเพื่อหลีกเลี่ยง ภาวะหมดไฟ  

โดยล่าสุดมีการพูดถึงการทำงานแบบใหม่ ซึ่งเป็นที่พูดถึงในกลุ่มคนทำงานโดยเฉพาะ นั่นก็คือ Quiet Quitting นันเอง หรือการทำงานโดยมีเส้นแบ่งระหว่าง งาน และ ชีวิต อย่างชัดเจน เพื่อลดความเครียดเหมือนกับการลาออกจากการทำงานอย่างทุ่มเท โดยที่ไม่ออกจากงานจริง ๆ นำมาสู่คำที่เรียกว่า การลาออกแบบเงียบ ๆ  

เนื่องด้วยบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปจากในอดีต มีการแข่งขันที่สูงขึ้นมาก ตำแหน่งงานน้อย แต่ต้องมีทักษะมากมายในคน ๆ เดียว ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องเผชิญกับความกดดันจนรู้สึกแย่ หรือรู้สึกถูกเอาเปรียบหากต้องรับผิดชอบงานที่มากขึ้นนอกเหนือจากเนื้องานที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น 

พฤติกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z และ กลุ่ม  Millennials ที่เกิดหลังปี 1989 โดยจะเน้นมองหางานที่แฟร์ และ Work Life Balance มากกว่าการเติบโตอย่างโดดเด่นในองค์กรที่ต้องแลกมาด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจเหมือนคนในเจเนอเรชันก่อน ๆ 

รายงานจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน American Psychological Association เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่า อาการหมดไฟและความเครียดนี้มีระดับที่พุ่งสูงมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่มีโรคระบาดแน่นอนตอนนี้โรคระบาดก็ยังไม่หมดไป ทำให้พบว่า Quiet Quitting หรือการลาออกเงียบ ๆ นี้ เป็นวิถีทางที่จะช่วยปกป้องผู้คนในด้านสุขภาพจิตได้ 

เหมือนกับ เคลย์ตัน แฟร์ริส คนทำงานวัย 41 ปี ที่ให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal หลังไปค้นพบกับแนวคิดนี้ว่า “สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ มันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนไปเลยนะ ผมก็ยังทำงานหนักเหมือนเดิม ยังทำงานสำเร็จเท่าเดิม แค่ไม่เครียดและเหยียบย่ำจิตใจจนสลายไม่มีชิ้นดีแค่นั้นเอง”  

ทางออกสำหรับการแก้ปัญหาข้างต้น อาจจะต้องใช้ความร่วมมือระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ทั้งนายจ้างและพนักงานอาจจะต้องหาทางสร้างสมดุลของชีวิตตัวเองให้เจอให้ได้ รู้จักพัก รู้จักวางมือเมื่อเหนื่อยล้า รู้จักปฏิเสธเมื่อไม่สามารถ handle สิ่งที่ทำอยู่ต่อไปได้ ขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาทั้งจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า 

ขอบคุณข้อมูลจาก
today.line.me
wsj.com
forbes.com
vistage.com
today.com
hays.com.au